พิษไวรัสโควิด19 ป่วนเศรษฐกิจโลก งานแฟร์ปั่นป่วนทยอยยกเลิก และเลื่อนกันอย่างมากมาย สมาคมการแสดงสินค้าค้าโลกครึ่งปีแรกเงินกว่า สี่ล้านล้านบาท ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทย ที่ตัวเลขการส่งออกวูบตาม เก้าหมื่นล้าน ซึ่งไวรัสโคโรน่าหรือไวรัสโควิด 19 นี้ยังคงลุกลามส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน

การท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั่วโลก และยังไม่มีใครรับประกันได้ว่า สถานการณ์นี้จะคลี่คลายหรือจบลงเมื่อไหร่ ซึ่งทำให้งานแสดงสินค้าต่าง ทั่วโลกไม่กล้าเสี่ยงที่จะจัดงาน จึงทำให้ทุกคนต้องยกเลิกและเลื่อนไปแบบไม่มีกำหนดก่อน ซึ่งจากเหตุการณ์ลักษณะนี้ ทำให้มีผลต่อการผลิตของโลกสูญเสียรายได้วูบไปกว่า สี่ล้านล้านบาท เลยทีเดียว

และไม่เฉพาะเกี่ยวกับงานแสดงสินค้าเท่านั้นที่ต้องเลื่อน แต่ขณะนี้ผลกระทบจากไวรัสโควิด19 ทำให้ประเทศต่างๆ มีมาตรการคุมเข้มทั่วโลกเกี่ยวกับการตรวจสินค้าเข้าประเทศมากขึ้น จึงทำให้การส่งออกชะลอเลื่อนออกไปอีก โดยการค้าไทยได้ออกมาแนะผู้ประกอบการ สามเรื่องด่วน สำหรับการส่งออกนั้น คือ 

1.ตลาดจีนกำลังกลับมา ผู้สี่งออกต้องเร่งติดต่อผู้นำเข้าจีน ซึ่งจะทำให้ตัวเลขส่งออกค่อยๆขยับขึ้น แต่อาจจะไม่เร็วอย่างที่คิด 

2.สำหรับตลาดอื่นๆ ให้ติดต่อห้างสรรพสินค้าทั่วโลก โดยเสนอให้ราคาพิเศษ 

3.สร้างความเชื่อมั่นว่าสินค้าไทยมีความปลอดภัยจากไวรัสโควิด19

ทั้งนี้ยังแนะนำให้ผู้ประกอบการหันมาค้าออนไลน์กันมากขึ้นเป็นหลัก ในการขยายตลาดส่งออก เพราะจากสถานการณ์ล่าสุดการจัดงานแฟร์ที่ใหญ่สุดของประเทศไทย ก็ถูกเลื่อนออกไปสองงานคืองาน TAPA2000 กับงานไทยเฟล๊กซ์ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการเอกชนมีปัญหากันเป็นอย่างมาก และจากข้อมูลกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ วันที่ 16 มีนาคม 2563

มีงานแสดงสินค้าในต่างประเทศที่ผู้ประกอบการของไทยจะเข้าร่วม 163 งาน ล่าสุดแจ้งเลื่อนการจัดออกไปอย่างเป็นทางการแบบไม่มีกำหนดแล้ว 74 งาน และประกาศยกเลิกแล้ว 11 งาน ดังนั้นการที่จะมีสินค้าเปิดตัวใหม่ของประเทศไทยในปีนี้ จึงทำให้มีความเป็นไปได้ค่อนข้างยาก และยิ่งครึ่งปีแรกมีการเลื่อนออกไปนั้น ต่อให้มีการจัดงานในครึ่งปีหลัง

ก็อาจจะทำให้ผู้ประกอบการบางรายไม่สามารถออกงานแสดงได้ เนื่องด้วยข้อจำกัดของสถานที่ที่มีไม่เพียงพอ รองรับผู้ประกอบการทั้งหมดให้ออกมาร่วมงานแสดงสินค้า ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาตอนนี้ก็คือ ทางผู้ประกอบการคงต้องเน้นการทำตลาดแบบอีคอมเมิชร์ หรือการค้าแบบออนไลน์กันมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤตินี้ และประคองตัวและเศรษฐกิจกันให้รอดไปก่อนที่จะช้าเกินไป